เรื่องของสบู่ สบู่ (soap) คือ เกลือของกรดไขมัน สารเคมีที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ด่าง,โซดาไฟ) และน้ำมันจากสัตว์หรือพืช สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน และสามารถเก็บไขมันไว้กับตัวมันเองได้ จึงมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดได้เป็นอย่างดี
สบู่มีใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ จากการค้นพบโดยบังเอิญ โดยสมัยที่มีการบูชายันต์ มีการเผาสัตว์ทั้งเป็น เช่น แพะบนแท่นบูชาไม้ การเผานี้ทำให้ไขมันจากสัตว์ละลายออกมาผสมกับขี้เถ้าจากถ่านไม้ เกิดเป็นของแข็งสีขาว เมื่อมีฝนตกจึงถูกชะลงไปในลำธาร ซึ่งพบว่าผ้าที่นำไปซักในลำธารนั้นสะอาดมากยิ่งขึ้น นี่จึงถือเป็นการค้นพบคุณสมบัติของสบู่
สบู่ในบ้านเรือน ใช้ชะล้าง อาบ และใช้ในการทำความสะอาดบ้าน ซึ่งสบู่ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิวและน้ำมันอิมัลซิไฟเออร์เพื่อให้สบู่ไหลไปกับน้ำได้ สบู่ในระดับอุตสาหกรรม ใช้กับการปั่นผ้า และเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารหล่อลื่นบางชนิด
การผลิตสบู่ในระดับอุตสาหกรรมถูกแต่งเติมด้วยสารต่าง ๆ ได้แก่ น้ำหอม สี สารเพิ่มฟอง เพื่อให้สบู่มีคุณสมบัติน่าใช้ ตามความต้องการของผู้บริโภค *ในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่มีการแยก กลีเซอรอล หรือ กลีเซอรีนออกไปเพื่อจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและอุตสาหกรรมยา เพราะได้ราคาสูงกว่าการจำหน่ายสบู่เพียงอย่างเดียว
ซึ่งสบู่ที่ผลิตเอง (Homemade) จะมีกลีเซอรอลหรือกลีเซอรีน ปนอยู่ในเนื้อสบู่ ทำให้ได้สบู่ที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหลังอาบน้ำค่อนข้างสูงกว่าสบู่ที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป
ที่มา: #การทดลอง Saponification #สบู่ #สบู่และหลักการทำความสะอาด